วันพฤหัสบดีที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

เครือข่ายคอมพิวเตอร์

โครงสร้างแบบ Ring
 โครงสร้างแบบ Ring เป็นโครงสร้างที่ถูกพัฒนาโดย IBM โดยมีลักษณะการเชื่อมต่อแบบวงแหวน ซึ่งจะมีการส่งข้อมูลแบบโทเค็น (Token) ให้กับเครื่องที่อยู่ในเครือข่ายตามลำดับ โดยไม่สนใจว่าคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นจะเป็นเจ้าของข้อมูลปลายทางหรือไม่ หากมีการตรวจสอบแล้วว่าไม่ใช่ ก็จะส่งข้อมูลออกไปยังเครื่องที่อยู่ถัดไปในลักษณะทิศทางเดียวกันตลอดจนกว่าข้อมูลนั้นจะส่งไปยังเครื่องปลายทางได้อย่างถูกต้อง
       โครงสร้างแบบ Ring ส่วนใหญ่ จะใช้กับเครือข่ายขนาดใหญ่ที่เป็นระบบคอมพิวเตอร์เมนเฟรมของ IBM เท่านั้น จึงไม่เป็นที่นิยมใช้กับงานทั่วไป เนื่องจากดูแลรักษายากและมีค่าใช้จ่ายสูง

                     http://www.hatyairat.ac.th/wbi/wbiA/service.html
แบบ Ring
·                  การเชื่อมต่อแบบวงแหวน
·                  เป็นการเชื่อมต่อจากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่งวนจนครบเป็นวงจร
·                  ในการส่งข้อมูลจะส่งออกที่สายสัญญาณวงแหวน โดยจะเป็นการส่งผ่านจากเครื่องหนึ่งไปอีกครื่องหนึ่งจนกว่าจะถึงเครื่องปลายทาง
·                  ปัญหาของโครงสร้างแบบนี้คือ ถ้าหากมีสายขาดในส่วนใดจะทำ ให้ไม่สามารถส่งข้อมูลได้
·                  ระบบ Ring มีการใช้งานบนเครื่องตระกูล IBM กันมาก
            เป็นเครื่องข่ายแบบ Token Ring ซึ่งจะใช้รับส่งข้อมูลระหว่างเครื่องมินิหรือเมนเฟรมของ IBM กับเครื่องลูกข่ายระบบ   
 http://www.thaiipcamera.com/network/50-info/552-lantopology.html
โครงสร้างแบบแหวน (Ring Network)
       โครงสร้างแบบนี้คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์จะถูกเชื่อมต่อเข้ากับสายเคเบิลเส้นเดียวเป็นวงแหวนดังรูปที่ได้แสดงไว้ การส่งข้อมูลจะใช้ทิศทางเดียวกันตลอดโดยผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ถัดกันไปเป็นทอด ๆ ถ้าแอดเดรสของมันไม่ตรงกับผู้รับตามที่เครื่องต้นระบุมา มันก็จะส่งผ่านไปยังเครื่องถัดไป จนกว่าจะถึงเครื่องปลายคือตรงกับใครเครื่องนั้นก็รับ ไม่ส่งต่อ โครงสร้างแบบนี้มีข้อเสียคล้าย ๆ กับแบบบัส คือเมื่อสายเคเบิลช่วงใดช่วงหนึ่งขาดจะทำให้ทั้งระบบใช้งานไม่ได้ อย่างไรก็ตามเครือข่ายแบบวงแหวนมักใช้สายเคเบิลที่มีวงแหวนสำรองที่สามารถส่งข้อมูลในทิศทางกลับกัน เพื่อเป็นเส้นทางสำรองในกรณีที่เครือข่ายมีปัญหา ซึ่งราคาแพงพอสมควร นอกจากนี้การเพิ่มเครื่องเข้าไปในเครือข่ายจะต้องปิดการทำงานของระบบก่อนเช่นเดียวกับแบบบัส เครือข่ายแบบนี้ปัจจุบันยังใช้กันอยู่ โดยเฉพาะในเครือข่ายของผลิตภัณฑ์ในตระกูล IBM ซึ่งโดยมากจะเป็นการเชื่อมต่อเครื่องเมนเฟรมหรือมินิคอมพิวเตอร์
                          http://learners.in.th/blog/paopilai/315577
ระบบเครือข่ายรูปแบบวงแหวน (Ring)
           เครือข่ายแบบโทเคนริง (Token Ring)เป็นเทคโนโลยีเครือข่าย LAN ที่พัฒนาโดยบริษัท IBM ในช่วงทศวรรษที่1970 ซึ่งต่อมา IEEE ได้นำมาเป็นแม่แบบในการพัฒนามาตรฐาน IEEE 802.5 ซึ่ง IEEE 802.5 หรือ โทเคนริง (Token Ring) จัดเป็นเครือข่ายที่ใช้โทโปโลยีแบบวงแหวน(Ring)ด้วยสายคู่ตีเกลียวหรือเส้นใยนำแสง อัตราการส่งข้อมูลของโทเค็นริงที่ใช้โดยทั่วไปคือ 4 หรือ 16 Mbps กำหนดให้มีสถานีเชื่อมต่อได้ไม่เกิน 250 สถานี เครือข่าย LAN แบบโทเคนริงนั้น เหมาะกับงานที่ต้องการรับประกันอัตราความเร็วในการรับ/ส่งข้อมูล รวมทั้งงานที่ต้องการระบบความแน่นอนที่สามรถใช้งานได้ดีอยู่แม้มีปัญหาเกิดขึ้นกับระบแบบ
            Ring การเชื่อมต่อแบบวงแหวน เป็นการเชื่อมต่อจากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง จนครบวงจร ในการส่งข้อมูลจะส่งออกที่สายสัญญาณวงแหวน โดยจะเป็นการส่งผ่านจากเครื่องหนึ่ง ไปสู่เครื่องหนึ่งจนกว่าจะถึงเครื่องปลายทาง ปัญหาของโครงสร้างแบบนี้คือ ถ้าหากมีสายขาดในส่วนใดจะทำ ให้ไม่สามารถส่งข้อมูลได้ ระบบ Ring มีการใช้งานบนเครื่องตระกูล IBM กันมาก เป็นเครื่องข่าย Token Ring ซึ่งจะใช้รับส่งข้อมูลระหว่างเครื่องมินิหรือเมนเฟรมของ IBM กับเครื่องลูกข่ายบนระบบ
    ข้อดี
ใช้เคเบิลและเนื้อที่ในการติดตั้งน้อย
คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเน็ตเวิร์กมีโอกาสที่จะส่งข้อมูลได้อย่างทัดเทียมกัน


   ข้อเสียหากโหลดใดโหลดหนึ่งเกิดปัญหาขึ้นจะค้นหาได้ยากว่าต้นเหตุอยู่ที่ไหน และวงแหวนจะขาดออก
                                                                http://learners.in.th/blog/paopilai/315577

วันพฤหัสบดีที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2554

แบบ RING

โครงสร้างแบบแหวน (Ring Network)
โครงสร้างแบบนี้คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์จะถูกเชื่อมต่อเข้ากับสายเคเบิลเส้นเดียวเป็นวงแหวนดังรูป
ที่ได้แสดงไว้ การส่งข้อมูลจะใช้ทิศทางเดียวกันตลอดโดยผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ถัดกัน
ไปเป็นทอด ๆ ถ้าแอดเดรสของมันไม่ตรงกับผู้รับตามที่เครื่องต้นระบุมา มันก็จะส่งผ่านไปยัง
เครื่องถัดไป จนกว่าจะถึงเครื่องปลายคือตรงกับใครเครื่องนั้นก็รับ ไม่ส่งต่อ โครงสร้างแบบน
ี้มีข้อเสียคล้าย ๆ กับแบบบัส คือเมื่อสายเคเบิลช่วงใดช่วงหนึ่งขาดจะทำให้ทั้งระบบใช้งานไม่ได้ อย่างไรก็ตามเครือข่ายแบบวงแหวนมักใช้สายเคเบิลที่มีวงแหวนสำรองที่สามารถส่งข้อมูลใน
ทิศทางกลับกัน เพื่อเป็นเส้นทางสำรองในกรณีที่เครือข่ายมีปัญหา ซึ่งราคาแพงพอสมควร นอกจากนี้การเพิ่มเครื่องเข้าไปในเครือข่ายจะต้องปิดการทำงานของระบบก่อนเช่นเดียวกับแบบบัส เครือข่ายแบบนี้ปัจจุบันยังใช้กันอยู่ โดยเฉพาะในเครือข่ายของผลิตภัณฑ์ในตระกูล IBM ซึ่งโดยมากจะเป็นการเชื่อมต่อเครื่องเมนเฟรมหรือมินิคอมพิวเตอร์








รูปแบบโครงสร้างแบบริง (Ring Network)

วันพฤหัสบดีที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ระบบเครือข่าย

ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

ในยุคก่อนที่เครือข่ายคอมพิวเตอร์จะถือกำเนิดขึ้นนั้น การติดต่อส่งข้อมูลข่าวสารจะผ่านทางสื่อต่าง ๆ เช่น ไปรษณีย์ โทรศัพท์ โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ เป็นต้น ซึ่งแต่ละสื่อก็จะมีข้อดีและข้อจำกัดต่าง ๆ กันไป แต่ในปัจจุบันนี้ สื่อที่สร้างความเปลี่ยนแปลงในการส่งข้อมูลข่าวสารมากที่สุด ก็คือระบบการสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือกล่าวได้ว่าประโยชน์สูงสุดอย่างหนึ่งของคอมพิวเตอร์ในยุคแห่งสารสนเทศนี้ ก็คือการช่วยให้สามารถติดต่อสื่อสาร และแลกเปลี่ยนข้อมูลได้อย่างกว้างขวางและรวดเร็ว
การสื่อสารข้อมูลทางอิเลคทรอนิคส์ คือ การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างต้นทางและปลายทาง โดยใช้อุปกรณ์ทางอิเลคทรอนิคส์ ซึ่งเชื่อมอยู่ด้วยสื่อกลางชนิดใดชนิดหนึ่ง
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ คือ ระบบการเชื่อมโยงระหว่างคอมพิวเตอร์ตั้งแต่สองตัวขึ้นไป เพื่อให้สามารถทำการสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเลคทรอนิคส์ระหว่างกันได้นั่นเอง
เมื่อระบบการสื่อสารข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์พัฒนาก้าวหน้าขึ้น จึงมีการประยุกต์ใช้วิธีการสื่อสารข้อมูลแบบต่าง ๆ เข้าช่วยให้การใช้งานคอมพิวเตอร์เพื่อการประมวลผลข้อมูลเป็นไปได้อย่างสะดวกยิ่งขึ้น รวมทั้งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ด้วย
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์สมัยใหม่จะถูกออกแบบให้มีโครงสร้างที่แน่นอน และเพื่อเป็นการลดความซับซ้อน ระบบเครือข่ายส่วนมากจึงแยกการทำงานออกเป็นชั้น ๆ โดยกำหนดหน้าที่ในแต่ละชั้นไว้อย่างชัดเจน
เครือข่ายคอมพิวเตอร์นอกจากจะประกอบขึ้นจากการนำคอมพิวเตอร์มาเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายแล้ว ยังต้องมีช่องทางหรือสื่อกลาง ( media) ในการส่งผ่านข้อมูล ซึ่งในปัจจุบันจะมีอยู่มากมายหลายแบบ และแต่ละแบบก็จะมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป สิ่งที่จะต้องคำนึงในการเลือกช่องทางที่ต้องการคือ
      • อัตราเร็วในการส่งผ่านข้อมูล (Transmission Rate) อาจเลือกได้ตั้งแต่ความเร็วอยู่ในหลัก Kbpd (กิโลบิตต่อวินาที ) จนถึงหลายสิบ Mbps (เมกะบิตต่อวินาที )
      • ระยะทาง (Distance) ต้องคำนึงถึงระยะทางระหว่างอุปกรณ์ที่ต้องการเชื่อมต่อกันด้วย โดยอาจห่างกันตั้งแต่ไม่กี่ฟุตจนถึงหลายพันกิโลเมตร
      • ค่าใช้จ่าย (Cost) อาจต้องเสียค่าใช้จ่ายในการติดตั้งครั้งแรกและค่าใช้จ่ายประจำ
      • ความสะดวกในการติดตั้ง (Each of Installtion) เนื่องจากบางพื้นที่อาจไม่สะดวกที่จะเดินสาย หรือไม่อาจใช้สื่อบางประเภทได้
      • ความทนทานต่อสภาพแวดล้อม (Resistance to Environmental Conditions) เช่น สื่อบางประเภทอาจมีข้อจำกัด เมื่อสภาพแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลง

ในการใช้งานจริงนั้น จะสามารถใช้งานช่องทางต่าง ๆ มากกาว่าหนึ่งช่องทางพร้อม ๆ กันขึ้นกับความเหมาะสม ซึ่งสามารถจำแนกช่องทางสำหรับการสื่อสารข้อมูลที่นิยมใช้ในปัจจุบันออกเป็นรูปแบบต่าง ๆ ได้ดังนี้
การทำงานร่วมกันของข่องทางต่าง